Bangpakok Hospital
  • A
  • A
  • A
BPK Hotline

โรคหืด หรือโรคหอบหืด (Asthma)

25 เม.ย. 2562


   เป็นโรคที่มีการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม ทำให้หลอดลมจะไวต่อสิ่งกระตุ้นมากกว่าปกติ รวมถึงเกิดการเกร็งตัวและหดเล็กลง แต่เยื่อบุข้างในจะบวมขึ้นและมีมูกหรือเมือกเหนียวๆ ส่งผลให้หลอดลมตีบแคบลง บางครั้งอาการเช่นนี้อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่คิดว่าเป็นแค่เรื่องเล็กน้อย หากปล่อยทิ้งเอาไว้นานเด็กๆ ก็มีโอกาสเป็นหอบหืดเรื้อรัง หรือเป็นๆ หายๆ เนื่องจากไม่ได้รับการรักษาจากต้นเหตุ
หอบหืด สาเหตุสำคัญเกิดจาก..!!

  1. พันธุกรรม หรือคนที่มีประวัติคนในครอบเป็นโรคหืด หรือ โรคหอบหืด จะมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าคนทั่วไป
  2. สารก่อภูมิแพ้ โดยมีตัวกระตุ้นดังนี้
    • การติดเชื้อหวัด
    • การเปลี่ยนแปลงของอากาศ
    • สารระคายเคืองและมลภาวะ
    • การออกกำลังกายหรือออกกำลังกายหักโหมเกินไป ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืดอยู่เดิม
    • ความผิดปกติทางอารมณ์และจิตใจ เช่น เครียด ร้องไห้มาก หัวเราะมาก

อาการนี้ ลูกของคุณกำลังเผชิญอยู่หรือไม่...?

  • ไอเรื้อรัง ไอมากเวลากลางคืน หรือช่วงเช้ามืด
  • ไอมากเวลาวิ่งเล่น จนเหนื่อย จนต้องหยุดเล่น
  • ไอมากจนอาเจียน
  • มีเสียงวี๊ดๆ ขณะหอบหรือไอ

เมื่อเป็น ต้องรีบรักษา..!!

   การตรวจวินิจฉัยเพื่อทำการรักษาหอบ หืด นั้นขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของโรค หากมาด้วยมีอาการหอบแพทย์จะทำการตรวจสมรรถภาพการทำงานของปอด สำหรับเด็กที่ให้ความร่วมมืออาการจะดีขึ้นหลังได้รับยาขยายหลอดลมสำหรับพ่นเวลามีอาการ เพื่อช่วยให้เด็กหายใจสะดวกขึ้นในทันที
  • การรักษาขณะมีอาการหอบ คุณหมอจะรักษาอาการตามอาการและภาวะที่เกิดร่วมกับโรคหอบหืด เช่น ภาวะภูมิแพ้ หรือโพรงจมูกอักเสบเรื้อรัง โดยทั่วๆ ไปการพ่นยาขยายหลอดลม การให้ออกซิเจน  (กรณีอาการรุนแรง) การให้สเตียรอยด์กินหรือฉีด กรณีหอบมาก หากหอบมากอาจต้องพิจารณาให้รักษาตัวใน ICU เพื่อการดูแลอย่างใกล้ชิด หากไม่ดีขึ้นอาจต้องพิจารณาใช้เครื่องช่วยหายใจ
  • การรักษาโรคหอบหืดในระยะยาว หลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้และสารระคายเคืองโดยการใช้ยาป้องกัน เช่น ยากิน ยาสเตียรอยด์ชนิดพ่น , รักษาโรคภูมิแพ้ร่วมอื่นๆด้วย และอาจพิจารณาฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิ หากใช้ยาแล้วไม่ดีขึ้น ซึ่งต้องฉีดในระยาวเป็นเวลาหลายปี  โดยควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางผู้เชี่ยวชาญอย่างละเอียด
อย่าตกใจ เพราะป้องกันได้..!!

   ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการป้องกันการเกิดโรคหอบหืด เพียงแต่ต้องอาศัยการดูแลอย่างใกล้ชิดและหมั่นสังเกตอาการผิดปกติของลูกน้อยเป็นประจำ หากสงสัยให้รีบมาตรวจรักษา พยายามทำความสะอาดห้องนอน รวมถึงการดูแลสุขภาพของลูกรักให้แข็งแรง หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอและไม่พาบุตรหลานไปในที่คนพลุกพล่าน ล้างมือให้สะอาดเสมอ และป้องกันไม่ให้ลูกน้อยเป็นหวัด เพราะหวัดเป็นสิ่งกระตุ้นให้อาการหอบหืดกำเริบ

สนับสนุนข้อมูลโดย : พญ. ธิดารัตน์ พงศ์สิริพิพัฒน์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ สาขาภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 1745

Go to top
Copyright © 2019 Bangpakok Hospital All rights reserved.